Kuo : iPhone 15 จะใช้งาน USB-C ภายในปี 2023

Kuo : iPhone 15 จะใช้งาน USB-C ภายในปี 2023

Ming-Chi Kuo ได้เผยผลการวิเคราะห์ถึงผลิตภัณฑ์สำหรับปี 2023 ของ Apple – iPhone 15 นั้น จะมีการประยุกต์ใช้งานระบบเชื่อมต่อ USB-C เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ก็ได้มีการโผล่ออกมาของผลการคาดการณ์ของ iPhone 15 สมาร์ทโฟนสำหรับปี 2023 จากทาง Apple ที่ซึ่งก็มาจากนักวิเคราะห์ชื่อดัง Ming-Chi Kuo โดยเขาได้กล่าวว่า Apple จะนั้น จะเริ่มทำการประยุกต์ใช้งานระบบเชื่อมต่อ USB-C ภายในสมาร์ทโฟนรุ่นนี้

โดยเมื่อปี 2017 นั้น 

ก็ได้มีการรายงานถึงข่าวลือที่ว่า Apple จะทำการหันมาใช้งานระบบเชื่อมต่อ USB-C แทนที่ Lighting Port ที่ถือว่าเป็นมาตรฐานของ Apple  และตัว Kuo เองก็ได้พูดถึงในประเด็นอยู่บ่อยครั้งในช่วงปีที่ผ่านมา ถ้าหากว่าผลการวิเคราะห์ที่ว่านี้เป็นจริงขึ้นมา ก็จะทำให้ iPhone 14 Series ถือว่าเป็นรุ่นสุดท้ายของ iPhone ที่ใช้งาน Lighting Port

ในส่วนของการใช้งาน USB-C ก็ไม่ใช่อะไรที่น่าประหลาดใจเท่าไหร่ เนื่องจากในปัจจุบันนี้อุปกรณ์บางตัวของ Apple ก็ได้มีการใช้งานระบบเชื่อมต่อรูปแบบนี้ไปบ้างแล้ว โดยยังคงเหลือแค่ iPad รุ่นประหยัด, Airpods และ iPhones เท่านั้นที่ยังใช้งานอยู่

ประโยชน์ของการใช้งาน USB-C ที่ตัวรุ่น 15 จะได้รับนั้น ก็คือ ความสามารถในการชาร์จไฟได้ไว และการเชื่อมต่อที่กว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมต่อระหว่างตัวอุปกรณ์เองได้ และถ้าคิดว่า Apple จะเสียเงินจากการประยุกต์ใช้งานแนวทางนี้แล้วนั้น ราคาของสายเคเบิ้ล USB-C to Lightning ก็มีราคาเท่ากับ USB-C to USB-C ทำให้ไม่ได้เสียหาย หรือลดมูลค่าแต่อย่างใด

วินาทีประวัติศาสตร์! เผย ภาพ ‘หลุมดำ’ ใจกลางทางช้างเผือก โดยทีมนักดาราศาสตร์ European Southern Observatory (ESO) ซึ่งใช้เครือข่าย กล้องโทรทรรศน์วิทยุ Event Horizon Telescope (EHT) ยืนยัน คำทำนาย ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์

อัปเดต ข่าวดาราศาสตร์ เมื่อวันพฤหสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565 เวลา 20.00 น. ตามเวลาประเทศไทย บนเฟสบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT ได้รายงานการค้นพบ ภาพ หลุมดำ “Sagittarius A*” (แซจิแทเรียส เอ สตาร์) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Sgr A* ภาพแรก ณ ใจกลางทางช้างเผือก โดยทีมนักดาราศาสตร์ European Southern Observatory (ESO) ซึ่งใช้เครือข่าย กล้องโทรทรรศน์วิทยุ Event Horizon Telescope (EHT) ซึ่งเป็นหลุมดำมวลยิ่งยวด ใจกลางทางช้างเผือก ตามคำทำนายของ ไอน์สไตน์ เกี่ยวกับ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ

ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1933 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุปริศนา จากบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก ในตำแหน่งของกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งปัจจุบันก็คือ ภาพ หลุมดำ “Sagittarius A*” (แซจิแทเรียส เอ สตาร์) และได้เจอกับหลักฐานชิ้นสำคัญ ที่บ่งชี้ว่า ดาวฤกษ์และแก๊สร้อนที่โคจรรอบวัตถุนี้ มีความเร็วสูงมากจนวัตถุนี้จะต้องมีแรงโน้มถ่วงมหาศาล ที่อยู่ภายในปริมาตรที่น้อยมาก ซึ่งตรงกับคุณสมบัติของหลุมดำมวลยิ่งยวด

ในปี ค.ศ. 2020 นักดาราศาสตร์อย่าง Reinhard Genzel และ Andrea M. Ghez ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ร่วมกับ Roger Penrose ในการค้นพบหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการมีอยู่ของหลุมดำที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งนับว่าเป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ของวงการดาราศาสตร์ ในรอบหลายทศวรรษ

เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีหลักฐานเกี่ยวกับหลุมดำ “Sagittarius A*” (แซจิแทเรียส เอ สตาร์) มาก่อน อีกทั้งภาพหลุมดำ ที่ค้นพบนี้ก็เป็นภาพหลุมดำจริง ๆ ภาพแรกบนโลกอีกด้วย

ลือ! iPhone 14 Pro Series จะได้รับ ‘หน้าจอ’ ใหญ่ขึ้นเล็กน้อย

มีการรายงานกันมาว่า สมาร์ทโฟนตัวท็อปสำหรับรุ่นประจำปีนี้ของ Apple – iPhone 14 Pro Series นั้น จะได้รับการขยาย หน้าจอ ให้ใหญ่ขึ้นมาเล็กน้อย มีการรายงานกันมาว่า สมาร์ทโฟนตัวท็อปสำหรับรุ่นประจำปีนี้ของ Apple – iPhone 14 Pro Series นั้น จะได้รับการขยาย หน้าจอ ให้ใหญ่ขึ้นมาเล็กน้อย

โดยข้อมูลที่ว่านี้เป็นการเปิดเผยมาจาก Ross Young – ประธานของบริษัทที่ปรึกษาในอุตสาหกรรมหน้าจอ ซึ่งเขาได้ให้รายละเอียดของขนาดหน้าจอไว้ดังนี้

– iPhone 13 Pro = 6.06 นิ้ว

– iPhone 14 Pro = 6.12 นิ้ว

– iPhone 13 Pro Max = 6.68 นิ้ว

– iPhone 14 Pro Max = 6.69 นิ้ว

ซึ่ง Young ก็ได้กล่าวเสริมว่าการเพิ่มขึ้นของขนาดหน้าจอนั้นก็มาจากตัวเรือนที่มีขนาดแคบขึ้น และการใช้งานหลุมหน้าจอทั้งแบบรู (ที่เป็นที่อยู่ของกล้องหน้าจอ) และแคปซูลยา (ที่อยู่ของเซนเซอร์ Face ID) การเปิดเผย Young ถือว่ามีความน่าเชื่อถือได้มากในระดับหนึ่ง เนื่องจากก่อนหน้าเขาได้เปิดเผยถึงการใช้งานหน้าจอขนาด 8.3 นิ้วบน iPad Mini 6 Gen และ MacBook Pro รุ่นหน้าจอ 14 และ 15 นิ้ว ที่จะมีการใช้งาน ProMotion ด้วย เรียกได้ว่าข่าวเกี่ยวกับด้านหน้าจอสำหรับผลิตภัณฑ์จาก Apple นั้น ต้องนึกถึง Ross Young เป็นคนแรก ๆ เลยทีเดียว

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า